ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข้อมูลเพิ่มเติมศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข้อมูลเพิ่มเติมศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชัยนาท
ภาพยนต์สื่อ Animation กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม หมายถึง การพัฒนาและยกระดับศูนย์พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่/จังหวัด ได้แก่ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ
ผู้สูงอายุ ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางบูรณาการความร่วมมือในการบริการสวัสดิการสังคมสำหรับคนทุกช่วงวัย
โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่อย่างยั่งยืน
และเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา และบริการสังคมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) รวมถึง เป็นศูนย์กลางการบริการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
(Community Service Center) สำหรับให้บริการประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัยได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้บริการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตําบล ประกอบด้วย ประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชน
ได้แก่ เด็กและเยาวชน สตรีและครอบครัว และแม่เลี้ยงเดี่ยว คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง
และผู้ทําการขอทาน ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ครัวเรือนเปราะบาง ประชาชนทั่วไป
ประโยชน์
ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
ครอบครัว
1. เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว นําไปสู่ชุมชนและสังคมเข้มแข็ง
2. ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัว
ชุมชน
1. เกิดการระดมทรัพยากร และความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและบริการสําหรับประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชน และเชื่อมโยงคนทุกวัยให้ได้รับประโยชน์จากการดําเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตําบล
2. มีศูนย์กลางในการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และแก้ไขปัญหาสังคมในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมสําหรับประชาชนในรูปแบบใหม่ๆ และเป็นการพัฒนาตามความสามารถ ความสนใจ และทักษะ รวมถึงส่งเสริมให้คนในชุมชนตระหนัก และให้ความสําคัญในการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมความช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ในพื้นที่
ประชาชน
1. ประชาชนทุกวัยในชุมชน สามารถเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม
2. ประชาชนทุกวัยในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
สังคม
1. ทำให้ปัญหาสังคมลดน้อยลงและสังคม
ดีขึ้น
2. ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การพัฒนาและยกระดับศูนย์พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในระดับพื้นที่/จังหวัด
การบูรณาการของศูนย์ พม. ในระดับพื้นที่ ได้แก่ ยกระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและ ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป (พก.) และศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางบูรณาการร่วมมือในการบริการสวัสดิการ สังคม คนทุกช่วงวัยโดยร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่อย่างยั่งยืน
กลไกความร่วมมือของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
กลไกความร่วมมือระดับกระทรวง
การบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เป็นการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงาน ภาครัฐ เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง ทั้งด้านข้อมูล ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านที่อยู่อาศัย ด้านอาชีพและการมีงานทำ และด้านท่องเที่ยวและชุมชน สำหรับหน่วยงานที่มีการบูรณาการการทำงาน โดยเป็น หน่วยงานที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MOU) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 จำนวน 12 กระทรวง 1 หน่วยงาน ดังนี้
1) สำนักนายกรัฐมนตรี 2) กระทรวงมหาดไทย 3) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 4) กระทรวงศึกษาธิการ 5) กระทรวงกลาโหม 6) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 7) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 8) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ 9) กระทรวงพาณิชย์ 10) กระทรวงวัฒนธรรม 11) กระทรวงแรงงาน 12) กระทรวงสาธารณสุข 13) กรุงเทพมหานคร
กลไกความร่วมมือระดับจังหวัด
ประกอบด้วย
ภาครัฐ
คณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคม ประจำจังหวัด
ภาคประชาสังคม
กลไกความร่วมมือระดับพื้นที่
1) คณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
2) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) / ชมรมผู้สูงอายุ
3) ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.)
4) ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป / ผู้แทนคนพิการ / องค์กรคนพิการ
กลไกความร่วมมือขอศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
5) สภาเด็กและเยาวชนตำบล
6) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
7) อาสาสมัครต่างๆ
8) สภาองค์กรชุมชน
9) โรงเรียน
10) วัด / องค์กรศาสนา
11) วิสาหกิจชุมชน
12) หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่
13) กองทุนสวัสดิการชุมชน
ภารกิจ/บทบาทหน้าที่
ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
1. สำรวจ/วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล
2. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายตามสภาพปัญหาและความต้องการ และประสาน ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร
3. จัดสวัสดิการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
4. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพประชาชนทุกกลุ่ม
เป้าหมายให้ครอบคลุมทุกมิติ
5. เป็นศูนย์กลางการบูรณาการความร่วมมือในการบริการสวัสดิการสังคมคนทุกช่วงวัย
การดำเนินการช่วยเหลือ
ตามสภาพปัญหา/ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ | กลุ่มเป้าหมาย | การช่วยเหลือตามสภาพปัญหา |
---|---|---|
1 | เด็ก เยาวชน | – เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด – เงินสงเคราะห์ประเภทต่าง ๆ |
2 | คนพิการ | – การจดทะเบียนคนพิการ – การกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ – การฝึกอาชีพ |
3 | ผู้สูงอายุ | – การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพกองทุนผู้สูงอายุ – ค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี – การฝึกอาชีพ |
4 | สตรีและครอบครัว | – การฝึกอาชีพ |
5 | ทุกช่วงวัย | – ข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย (สภาพบ้านผู้สูงอายุ/คนพิการ/ผู้ด้วยโอกาส) |
Educational Opportunities
Admissions
Updates
Curriculum
Calendar
How to Apply
Academics
Location
Tuition & Fees
Latest News
This is some dummy copy. You’re not really supposed to read this dummy copy, it is just a place holder for people.
-
ประกาศการคัดเลือกผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดชัยนาท
Read more → : ประกาศการคัดเลือกผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดชัยนาทจำนวนคนชมเว็บไซต์ 1
-
ประกาศการคัดเลือกผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดชัยนาท
Read more → : ประกาศการคัดเลือกผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดชัยนาทจำนวนคนชมเว็บไซต์ 1
-
คู่มือการจดและขึ้นทะเบียนคนพิการ
Read more → : คู่มือการจดและขึ้นทะเบียนคนพิการจำนวนคนชมเว็บไซต์ 1
-
ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง2
Read more → : ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง2ๅๅๅ จำนวนคนชมเว็บไซต์ 24